โมก

วันที่ : 16/10/2015   จำนวนผู้ชม : 45,408

โมก....ไม้(พื้น)เมืองเดิม

โมกแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Wrightia dubia (Sims) Spreng. วงศ์ APOCYNACEAE
ชื่ออื่น มุก, มูก (ตรัง); มูกมัน (ภูเก็ต); โมกป่า (จันทบุรี); โมกมัน (นครราชสีมา)

ลักษณะทั่วไป

ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-5 เมตร เรือนยอดโปร่ง ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านนัก ใบ รูปรี แผ่นใบบาง ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 1-4 ดอกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งหรือที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ แหลมและบิด ดอกรูประฆังห้อยลง สีส้มแดงอยู่ใต้ใบ ดอกบานเพียงวันเดียว กลิ่นหอมอมเปรี้ยว ออกดอกตลอดทั้งปี มีถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อน เขตการกระจายพันธุ์ที่กัมพูชา เวียดนาม และคาบสมุทรมลายู ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่จังหวัดจันทรบุรี และพบทั่วไปทางภาคใต้ ขึ้นในป่าดิบชื้น ระดับความสูงจนถึงประมาณ 400 เมตร ปลูกในดินร่วนระบายน้ำดี เติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร ชอบความชื้นในอากาศและในดินสูง

การขยายพันธุ์ "ผล" เป็นฝักคู่ โคนฝักติดกัน พอแก่แห้งจะแตกอ้าออก เห็นเมล็ดเป็นเส้น มีขนสีขาวเป็นพู่คล้ายปุยนุ่นที่ปลายสามารถปลิวตามลมได้ไกล ไปตกที่ใดถ้าเมล็ดยังไม่ฝ่อ เมื่อได้น้ำจากธรรมชาติ จะแตกเป็นต้นใหม่ขึ้นมาเองได้ ซึ่งอาจเป็นไม้กลายพันธุ์ ดอกและต้นจะมีลักษณะแตกต่างไปจากพันธุ์เดิมได้ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือแยกหน่อจากรากใต้ดิน

ประโยชน์

  • เปลือก - เนื้อไม้ต้มน้ำดื่มช่วยป้องกันแก้เส้นโลหิตฝอยแตกได้
  • เป็นไม้ดอก ไม้ประดับ

 

โมกลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrighlia religiosa Benth. วงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อพื้นเมือง โมก โมกลา โมกซ้อน โมกบ้าน หลักป่า โมกกอ โมกน้ำ

ลักษณะทั่วไป

ไม้พุ่มสูง 2-5 เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกสีน้ำตาลดำ แตกกิ่งต่ำใกล้ผิวดินกิ่งเปราะทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวทรงพุ่มทึบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบค่อนข้างมน ใบสีเขียวอมเหลือง มีใบมาก ดอกออกที่ซอกใบ บริเวณปลายกิ่งมี 2-8 ดอก ก้านดอกเรียวเล็ก ยาว 2-3 เซนติเมตร ทำให้ดอกห้อยลง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเล็กน้อยปลายแยกเป็น 5 กลีบ รูปไข่ สีขาว เกสรตัวผู้มี 5 อัน ดอกบานขนาด 1-2 เซนติเมตร กลิ่นหอมเย็น ดอกออกตลอดปี แต่ออกดอกราวกุมภาพันธ์ - มีนาคม

การขยายพันธุ์เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ ผลโมกลา มีผลเป็นฝักคู่ ปลายโค้งเข้าหากัน ยาว 10-15 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกออกเป็น 2 ซีก
เมล็ดมีจำนวนมาก รูปร่างเรียวแหลมหัวท้ายมีสีขาว เป็นกระจุกอยู่ที่ปลาย ช่วยให้เมล็ดปลิวตามลม

นิเวศวิทยา ปลูกได้ในดินสภาพทั่วไป แต่ชอบดินชื้นจัด สามารถปลูกแช่น้ำได้ ถ้าดินมีช่วงแห้งสลับเปียกจะออกดอกตลอดปี ถ้าอยู่ในที่ร่มรำไรใบจะเข้มและบาง แต่ถ้าอยู่กลางแดดใบจะมีสีเขียวเหลือง

โมกซ้อน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia religiosa Benth. ex Kurz วงศ์ : Apocynaceae
ชื่ออื่น : ปิดจงวา (เขมร-สุรินทร์); โมกซ้อน, โมกบ้าน (ภาคกลาง); หลักป่า (ระยอง)

ลักษณะทั่วไป

ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 2-4 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกสีน้ำตาล มีจุดประสีขาว มียางมาก ใบเดี่ยวขนาดเล็กออกตรงกันข้าม แตกตามกิ่งไปในแนวเดียวกันเป็นแผงๆ ดอกมีขนดเล็กออกตามซอกใบเป็นช่อ 3 หรือ 5 ดอก ก้านดอกเรียวเล็ก ทำให้ดอกคว่ำหน้าลง เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2 เซนติเมตร ดอกบานวันเดียวแล้วโรย จะทิ้งใบในฤดูหนาว ทนร่มได้ดี ปลูกในอาคารได้นาน ปลูกริมน้ำตก ลำธาร ริมทะเล ทนน้ำท่วมขัง
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ รากเป็นยารักษาโรคผิวหนัง เรื้อน คุดทะราด

โมกมัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia pubescens R.br. วงศ์ : Apocynaceae
ชื่อพ้อง : Wrightia tomentosa var. cochinchinensis Pierre ex Pitard
ชื่ออื่น : โมก, มูก (ภาคกลาง); มูกเกื้อ (จันทบุรี); โมกมัน (ชลบุรี, กาญจนบุรี, นครราชสีมา)

ลักษณะทั่วไป

ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางผลัดใบ สูง 8-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาอ่อนถึงน้ำตาล ลักษณะคล้ายไม้ก๊อก ถ้าตัดทุกส่วนที่ยังสดอยู่จะมีน้ำยางสีขาวเหนียวๆ ซึมออกมา เรือนยอดรูปทรงกลม ทึบ กิ่งและยอดอ่อนมีขนนุ่มหนาแน่น ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดตรงข้ามเป็นคู่ๆ ทรงใบรูปรีๆ รูปไข่และไข่กลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 7-18 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบบาง มีขนนุ่มทั้งสองด้าน บางทีด้านหลังใบของใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ มี 8-15 คู่ เส้นใบย่อยเห็นไม่ค่อยชัด

ดอก สีขาวอมเหลือง บิดเวียนเป็นรูปกังหัน ออกรวมกันเป็นช่อแบบเป็นพวงกระจายตามปลายกิ่ง ช่อยาว 4-6 ซม. มหลายดอก ดอกเมื่อเริ่มบานใหม่ๆ ภายนอกสีเขียวอ่อน ส่วนด้านในสีขาวอมเหลือง เมื่อดอกใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแกมเหลืองหรือม่วงแดง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2.5 ซม. กลีบฐานดอกเชื่อมติดกันเป็นกรวยที่โคนกลีบ ปลายแยกเป็นแฉกมนๆ 5 แฉก มีขนแน่นทั้งสองด้าน โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวถึง 10 มม. ปลายแยกเป็นกลีบรูปขอบขนาน 5 กลีบ ในดอกตูมกลีบจะบิดเป็ฯเกลียวตามเข็มนาฬิกา เมื่อดอกบานกลีบจะบิดเวียนกันเป็นรูปกังหัน แต่ละกลีบยาว 8-16 มม. และมีระยางพิเศษสีส้มคล้ำจนถึงสีม่วงอยู่ถัดจากชั้นกลีบดอกเข้าไป ระยางนี้สั้นกว่าเกสรตัวผู้ เกสรตัวผู้ มี 5 อัน ติดอยู่ใกล้ๆ ปากหลอดกลีบดอกด้านใน ก้านเกสรสั้น ส่วนอับเรณูสีขาว รังไข่ รูปรีๆ ภายในแบ่งเป็น 2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนมาก ผล เป็นฝักรูปทรงกระบอกยาว 17-35 ซม. โตวัดผ่าศูนย์กลาง 8-13 ซม. มีร่องระหว่างกลางตามยาวฝัก ทำให้ฝักดูเป็นสองพู เมื่อฝักแก่จัดจะแตกอ้าออกตามแนวร่องนี้ ผิวฝักแข็งขรุขระไปด้วยตุ่มช่องระบายอากาศ เมล็ด รูปรีๆ คล้าข้าวเปลือก ปลายข้างหนึ่งจะมีขนสีขาวเป็นพู่ สามารถปลิวไปตามลมได้ไกลๆ

ออกดอกระหว่างเดือน มกราคม - มีนาคม ผลแก่ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม บางทีทั้งดอกและฝักอยู่ในช่วงเดียวกัน

ประโยชน์

  • ใช้ไม้ทำตัวหมากรุก เครื่องเขียน ครอบลูกคิด ทำจะเข้ ซอด้วง ซออู้ ทำพานท้ายและรางปืน
  • ด้านสมุนไพร ตำรายาแผนโบราณ
    เปลือก เป็นยาเจริญอาหาร ทำให้ประจำเดือนปกติ แก้พิษสัตว์กัดต่อย แก้โรคไต
    ยางจากต้น แก้บิดมูกเลือด ใบ ขับน้ำเหลือง
    ดอก เป็นยาระบาย
    เนื้อไม้ ขับเลือด ราก รักษาพิษงู

โมกใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Holarrhena pubescens Wall. ex G.Don วงศ์ : Apocynaceae
ชื่ออื่น : ซอทึ, พอแก, ส่าตึ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); พุด (กาญจนบุรี); พุทธรักษา (เพชรบุรี); มูกมันน้อย, มูกมันหลวง, มูกหลวง, โมกเขา, โมกทุ่ง, โมกหลวง (ภาคเหนือ); โมกใหญ่ (ภาคกลาง); ยางพูด (เลย); หนามเนื้อ (เงี้ยว-ภาคเหนือ)


ลักษณะทั่วไป

ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม กว้าง 3.5-14 ซม. ยาว 7-30 ซม. ก้านใบยาว 0.4-1.2 ซม. แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ รูปรีหรือขอบขนาน โคนใบป้านหรือรูปลิ่ม ปลายเรียวแหลม หรือเป็นติ่งแหลม ขอบเรียบ ผิวใบด้านบนและด้านล่างเป็นมัน เกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม ดอกช่อแบบช่อกระจุก ดอกย่อยมีก้าน ดอกย่อยที่ด้านข้างเท่ากัน มีขนาดเล็กกว่าดอกย่อยที่ตรงกลางช่อ ช่อดอกยาว 4-14 ซม. ก้านช่อยาว 0.9-3.5 ซม. หรือไม่มีก้านช่อ ทุกส่วนเกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม ดอกย่อยประกอบด้วย ก้านดอกย่อยสั้นมากหรือไม่มีก้าน ก้านดอกย่อย วงกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก ปลายของแต่ลุแฉกแหลม วงกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปดอกเข็ม ปลายแยก 5 แฉก กว้างประมาณ 0.4-0.8 ซม. ยาวประมาณ 0.7-2.3 ซม. สีขาว รูปขอบขนาน ปลายมน เกสรเพศจำนวน 5 อัน แยกกัน เกสรเพศเมีย 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ ผลแตกแนวเดียว รูปแถบเรียวยาว กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาว 37-45 ซม. ก้านผลยาว 1.6-2.5 ซม. เมล็ดจำนวนมาก มีปีกบาง

ประโยชน์

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ
  • เนื้อไม้เหนียว ไสกบแต่งได้ง่าย ใช้ทำสันแปรง กรอบรูป เครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องใช้สอย ได้แก่ ไม้เท้า ด้ามปากกา ไม้บรรทัด ไม้ฉาก ตะเกรียบ หวี ของเล่นสำหรับเด็ก
  • เปลือกไม้มีสรรพคุณทางยาเกี่ยวกับการรักษาโรคบิด

โมกพวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia religiosa Benth. วงศ์ : Apocynaceae

ลักษณะทั่วไป :

เป็นไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็กสูงประมาณ 2 - 3 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากไม่ค่อยเป็นระเบียบออกดอกตลอดปี (ออกดอกมากช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว) มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย สามารถควบคุมการออกดอกได้ด้วยการควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยที่เหมาะสม โมกพวงเป็นพันธุ์ไม้ที่ใบไม่ค่อยร่วงและใบบาง ทำให้ย่อยสลายได้ง่ายจึงไม่มีภาระในการเก็บใบทิ้ง

การขยายพันธุ์ : การตอน โมกเป็นไม้มียาง ควรล้างยางออกก่อนหุ้ม ฮอร์โมนมีความจำเป็นระดับหนึ่งในการตอน ใช้เวลาในการออกราก 1.5 - 2 เดือน ควรรตอนช่วงฤดูฝน

ประโยฃน์

  • ยาง ใช้แก้โรคบิดที่มีอาการเลือดออก ใช้แก้พิษงูและแมลงกัดต่อย
  • ราก รักษาโรคเรื้อน

โมกแคระ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia religiosa Benth. "variegata".วงศ์ : Apocynaceae
ชื่ออื่นๆ โมกเวียดนาม

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็กสูงประมาณ 2 - 3 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากไม่ค่อยเป็นระเบียบแต่ค่อนข้างกลม ออกดอกตลอดปี (ออกดอกมากช่วงปลายฤดูฝน - ต้นฤดูหนาว) ดอกหอมช่วงเย็น - เช้า:มีความหอมแรง (เมื่อเทียบกับพันธุ์ไม้หอมที่มีดอกเท่ากัน) สามารถควบคุมการออกดอกได้ด้วยการควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยที่เหมาะสม โมกแคระมีข้อจำกัดเรื่องความแข็งแรงของลำต้น ลำต้นอาจหักเสียหายได้หากมีลมแรง ชอบพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ชอบอยู่กลางแจ้ง การปลูกโมกในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอ จะทำให้ต้นสูงชะลูดและไม่ค่อยออกดอก

การขยายพันธุ์ : การเสียบยอด โดยใช้โมกมันเป็นต้นตอ พบได้ทั่วไป

ประโยชน์

  • ยาง ใช้แก้โรคบิดที่มีอาการเลือดออก ใช้แก้พิษงูและแมลงกัดต่อย
  • ราก รักษาโรคเรื้อน

โมกด่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia religiosa Benth. "variegata" วงศ์ : Apocynaceae
ชื่ออื่นๆ :ปิดจงวา (เขมร) โมกบ้าน หลักป่า

ลักษณะทั่วไป

ไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็กสูงประมาณ 1.5 - 2 เมตร เพื่อความสะดวกในการตัดแต่งทรงพุ่ม หากปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติจะแตกกิ่งก้านสาขามากไม่ค่อยเป็นระเบียบ มีใบด่างเหลืองสลับเขียวสวยงาม และมีดอกที่มีกลิ่นหอมเป็นผลพลอยได้ เหมาะกับพื้นที่ที่เป็นที่โล่งแจ้ง เช่น ตามสนามหญ้าต่างๆ ชอบพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง แต่ก็ยังต้องการน้ำในระดับกลางๆ ในฤดูแล้งควรรดน้ำสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง (รดน้ำพอชุ่ม)

การขยายพันธุ์ : การเสียบยอด โดยใช้โมกมันเป็นต้นตอ
การตอน ใช้เวลา 1.5 - 2 เดือนจึงออกราก และมีความจำเป็นที่ต้องใช้ฮอร์โมนช่วยเร่งการออกราก

ข้อแนะนำ :
โมกซ้อนด่างเป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมขยายพันธุ์โดยการเสียบยอด โดยใช้โมกมันเป็นต้นตอ
หากพบยอดที่แตกใหม่มีใบสีเขียวควรเด็ดทิ้งทั้งหมด หากปล่อยไว้ กิ่งก้านที่ใบสีเขียวจะเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่ากิ่งก้านที่ใบด่างที่เราต้องการ และทำให้ส่วนใบด่างค่อยๆ ตายได้หากปล่อยไว้นานๆ การตัดแต่งทรงพุ่มควรทำอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง จะทำให้ทรงพุ่มแน่นสวยงาม
การตัดแต่งบ่อยๆ จะทำให้ใบของโมกซ้อนด่างมีขนาดเล็กลง แต่มีจำนวนใบเพิ่มมากขึ้น หากพบอาการดังกล่าว ไม่ต้องตกใจ เพราะว่าลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะที่ต้องการโชว์ทรงพุ่ม สามารควบคุมทรงพุ่มให้สวยงามได้ง่ายในภายหลัง
รูปทรงที่นิยม ทรงกลมที่ปลายกิ่ง ทรงเหลี่ยม ใช้ประดับสวนและสนามหญ้าได้ด

ประโยชน์

  • ยาง ใช้แก้โรคบิดที่มีอาการเลือดออก ใช้แก้พิษงู และแมลงกัดต่อย
  • ราก รักษาโรคเรื้อน

โมกหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Holarrhena pubescens (Buch.-Ham.) Wall. ex G. Don (H. antidysenterica wall.)
วงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : พุด (กาญจนบุรี) พุทธรักษา(เพชรบุรี) มุกมันน้อย มูกมันหลวง มุกหลวง โมกเขา โมกทุ่ง(เหนือ) โมกใหญ่ (กลาง) ยางพุด (เลย) หนามเนื้อ(เงี้ยว-พายัพ)

ลักษณะทั่วไป

ไม้ยืนต้น สูง 8 - 15 เมตร ทุกส่วนมียางขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่ หรือรูปวงรี กว้าง 5 - 12 ซม. ยาว 10 - 20 ซม. ผิวใบสีเขียวแกมเหลือง ท้องใบมีขนนุ่ม ดอกออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว บริเวณกลางดอกสีเหลือง เป็นช่อเล็กๆมีกลิ่นหอม ส่วนช่อดอกจะมีขน โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายกลีบแผ่ออกเป็น 5 แฉก ผลเป็นฝักคู่ กว้าง 6-7 มิลลิเมตร ยาว 20-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จัดจะแตกเป็นสองซีก ภายในมีเมล็ดหลายเมล็ด ยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร และมีขนสีนวลติดเป็นกระจุกที่ปลายเมล็ด ดังนั้นเมื่อแตกออกก็จะปลิวตามลมเป็นจำนวนมาก

การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด

ประโยชน์

  • เปลือก ใช้แก้บิด เจริญอาหาร พบว่ามีแอลคาลอยค์ conessine ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบิด และเคยใช้เป็นยารักษาโรคบิด อยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งเปลือกที่มีคุณภาพดีต้องเก็บจากต้นที่มีอายุ 8-12 ปี และต้องไม่มีเนื้อไม้ติดมา ซึ่งถ้าท่านผู้อ่านมีอาการท้องเสียแบบบิด ก็สามารถจะใช้เปลือกโมกหลวงเพื่อดูแลตนเองเบื้องต้นก่อนไปพบแพทย์ได้โดยการนำเปลือกต้นโมก-หลวงมาครึ่งกำมือ(6-10 กรัม) ผสมกับผลมะตูมแห้งอย่างละเท่าๆ กัน รวมกับเปลือก รากทับทิมอีกครึ่งส่วน ตำให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งทำเป็นลูกกลอนรับประทานครั้งละ 1-2 กรัม (ของยาที่ผสมแล้ว) หรือต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง เมื่อรับประทานแล้วอาการดีขึ้นให้รับประทานต่อจนกว่าจะหาย แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์ใกล้บ้าน
  • ราก มาทุบพอกอาการชาจากโรคเรื้อน ปัจจุบันมีการใช้น้อย เนื่องจากพบฤทธิ์ข้างเคียง ต่อระบบประสาท

โมกราชินี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia sirikitiae Mid.& Santisuk วงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูงประมาณ 4-6 เมตร ทุกส่วนของต้นมียางสีขาวข้น เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อน มีตุ่มใหญ่หนาแน่น ใบ เดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ มีขนนุ่มประปราย ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน ผล เป็นฝักคู่คล้ายกระบองยาว ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลอ่อน ออกดอกและผลในช่วงฤดูร้อน ขึ้นตามซอกหินของภูเขาหินปูนที่แห้งแล้ง ในป่าละเมาะผลัดใบตามธรรมชาติ เนื้อไม้ลักษณะคล้ายไม้โมกมัน มีเพียงจังหวัดเดียวในประเทศไทย ซึ่งหาชมได้ที่ วัดพระพุทธบาท และ วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) จังหวัดสระบุรี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง

แหล่งค้นพบในประเทศไทย : โมกราชินีเป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก จากการสำรวจพรรณพฤกษชาติภูเขาหินปูน โดย ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการสำรวจและจำแนกพรรณไม้ กรมป่าไม้และราชบัณฑิต ได้พบพรรณไม้ชนิดใหม่ที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ มีดอกสวยงาม เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียว พบเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งเป็นพรรณไม้หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก จากความสำเร็จในการค้นพบครั้งนี้ ทางกรมป่าไม้จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใช้ชื่อพรรณไม้ชนิดใหม่ตามพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ว่า " Wrightia sirikitiae Mid.&Santisuk " เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณที่พระองค์ทรงสนับสนุนและทรงริเริ่มโครงการต่างๆ ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในกรประเทศไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่วงการพฤกษศาสตร์ของประเทศไทย
 

ที่มาข้อมูล และภาพ clgc.rdi.ku.ac.th/ , http://www.morninggarden.com

 

istanbul escort sisli escort umraniye escort mecidiyekoy escort sisli escort tbilisi escort sisli escort sisli escort sisli escort taksim escort taksim escort umraniye escort kartal escort sirinevler escort maltepe escort izmir escort istanbul escort istanbul escort umraniye escort kadikoy escort vip escort mersin escort istanbul escorts atakoy escort avcilar escort beylikduzu escort okmeydani escort besiktas escort sisli escort maslak escort tuzla escort sex shop isitme cihazi sex shop sex shop sex shop sex shop sex shop sex shop sex shop

istanbul escort | sisli escort | sisli escort | sisli eskort | istanbul escort | izmir escort | kartal escort | maltepe escort | tuzla escort | umraniye escort | umraniye escort | umraniye escort | istanbul vip escort | taksim escort | taksim escort | adalar escort | aksaray escort | anadolu escort | atakoy escort | avcilar escort | avrupa escort | bagcilar escort | bahcesehir escort | bakirkoy escort | basaksehir escort | bebek escort | besiktas escort | beykoz escort | cihangir escort | capa escort | cekmekoy escort | esenler escort | istanbul escorts | elit escort | esenyurt escort | fatih escort | gaziosmanpasa escort | gebze escort | goztepe escort | gunesli escort | halkali escort | istanbul escort | istanbul escort | kusadasi escort | kadikoy escort | kagithane escort | maltepe escort | maslak escort | maslak escort | mecidiyekoy escort | mersin escort | merter escort | okmeydani escort | sancaktepe escort | sile escort | sirinevler escort | istanbul escort | sisli escort | sisli escort | topkapi escort | uskudar escort | zeytinburnu escort | antalya escort | bodrum escort | cesme escort | marmaris escort | tbilisi escort | sex shop | seks shop | sex shop | istanbul sex shop | erotik shop | fethiye sex shop | vibratör