ในช่วงสิ้นปีที่หลายๆ คนหยุดอยู่กับบ้าน หนึ่งในแผนของการอยู่บ้านคือ การทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ ซึ่งรวมไปถึงการเช็ดทำความสะอาด "หิ้งพระ"
และพระพุทธรูป ที่บางบ้านอาจใช้เวลาในช่วงปีใหม่เป็นช่วงเวลาในการจัด ทำความสะอาด ส่วนหนึ่งเพื่อให้บ้านช่องสะอาดต้อนรับปีใหม่
และส่วนหนึ่งเหมือนเป็นสัญลักษณ์ว่าการทำความสะอาดหิ้งพระถือเป็นการเริ่มต้นทำในสิ่งที่ดีงาม ให้ชีวิตพร้อมต้อนรับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเข้ามาในปีถัดไป
Sanook!Home จึงนำหลักการทำความสะอาดหิ้งพระอย่างถูกต้อง เหมาะสมมาเป็นความรู้ให้สำหรับใครที่ยังมีความเข้าใจผิดๆ
หรือเพิ่งเริ่มทำความสะอาดพระเป็นครั้งแรกวิธีทำความสะอาดหิ้งพระและพระพุทธรูป
วิธีที่ 1สรงน้ำ สมมุติว่าได้พระสมเด็จมา 1 องค์ ขั้นตอนแรกให้ใช้แอลกอฮอล์ชโลมเพื่่อฆ่าเชื้อโรคก่อน แล้วจึงสรงด้วยน้ำอุ่น
โดยใช้สำลีชุบน้ำอุ่นลูบไล้ตามซอกต่าง ๆ ให้ทั่ว แล้วนำไปผึ่งลม (ห้ามนำพระลงแ่ช่น้ำอุ่นทั้งองค์โดยเด็ดขาด) เมื่อแห้งสนิทแล้ว
สีพระอาจจะเปลี่ยนไปบ้าง ไม่ต้องตกใจ เพราะที่เป็นอย่างนี้เพราะเหงื่อไคล หรือขี้มือ การแก้ไขความซีดของพระไม่ยาก
ให้ใช้สำลีชุบน้ำหอมสีอ่อนๆ ทาให้ทั่วองค์ เนื้อพระจะกลับมาเหมือนเดิม
วิธีที่ 2 การกำจัดฝุ่นละออง ให้ใช้คอตตอนบัด ลูบเบา ๆ ปัดในซอกลึก ๆ ฝุ่นละอองจะหมดไป วิธีนี้เหมาะสำหรับพระที่จะเก็บเข้ากล่องนาน ๆ
วิธีที่ 3 การกำจัดเชื้อรา พระเครื่องที่เก็บไว้นาน ๆ ในฤดูฝนอากาศชื้นมากกว่าปกติ อาจมีเชื้อราจับเป็นฝ้าบาง ๆ ตามซอกต่าง ๆ ถ้ามีให้ใช้ขนมปังปอนด์
เอาเฉพาะส่วนที่นุ่ม ๆ ตรงกลาง ตบเบา ๆ บนเนื้อพระ ราและผงฝุ่นจะหลุดออกมาหมดพร้อมขนมปัง แต่ถ้าต้องการความสะอาดหมดจด
ให้เอาพระซุกไว้บริเวณกลางเนื้อขนมปัง แล้วใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ห่อขนมปังไว้อีกที ระวังอย่าให้ผ้าแห้ง ขนมปังจะแข็ง ทิ้งไว้ 1-2 คืน
เมื่อเอาพระออกมา ใช้แปรงอ่อน ๆ หรือคอตตอนบัด ปัดเศษขนมปังออกให้หมด จากนั้นผึ่งลมใหแห้งสนิท เนื้อพระจะเกลี้ยงเกลา
ดูผิวหนึกนุ่มนวลตาขึ้นเป็นอันมาก วิธีนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับพระสมเด็จ ชนิดมีแป้งโรยพิมพ์
วิธีที่ 4 กำจัดความชื้น มีวิธีดังนี้ 1.ใช้ข้าวสารกลบไว้ในภาชนะขนาดย่อมสัก 2-3 คืน เมื่อเอาออกมาใช้แปรงขนอ่อน ปัดข้าวสารออก
เนื้อพระจะแห้งปราศจากน้ำมัน ผิวพระจะนวล นุ่มตากว่าเก่า เหมาะสำหรับทำความสะอาดพระเนื้อนุ่ม 2. สรงด้วยน้ำซาวข้าวที่มีตะกอนข้น ๆ
แช่พระไว้ 1-2 ชม. แล้วนำมาล้างออกด้วยน้ำสะอาด ผึงลมให้แห้งสนิท เหมาะสำหรับพระเนื้อแกร่ง
วิธีที่ 5 ล้างสนิม ในกรณีมีสนิมเหล็กจับที่เนื้อพระให้ใช้เปลือกหมากเจียนเป็นชิ้นเล็ก ๆ จุ่มน้ำยาล้างสนิม ถูค่อย ๆ หลาย ๆ ครั้ง
สนิมจะค่อย ๆ หลุดออก ข้อควรระวังคืออย่าถูแรง ๆ จะทำให้ผิวพระเสียได้
วิธีที่ 6 ล้างสี ในกรณีที่เนื้อพระเปื้อนสี ถ้าเป็นสีน้ำมัน ให้ล้างออกด้วยทินเนอร์ ถ้าเป็นสีชนิดอื่น ให้ใช้น้ำยาคลอรีน หรือน้ำยาซัลเฟอร์ไดออก
ไซด์ล้างสีออกแล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง ผึ่งให้แห้ง
วิธีที่ 7 การแช่ด้วยผงชูรส ใช้กับพระเนื้อโลหะ เหรียญ หรือรูปหล่อ แช่ไว้ราวครึ่งชั่วโมง หรือนานกว่านั้นตามปริมาณคราบสกปรก
เช็ดออกด้วยสำลี หรือล้างน้ำสะอาด การทำความสะอาดด้วยวิธีนี้ อาจทำให้พระเปลี่ยนสีได้ ถ้าทิ้งไว้นาน ๆ ผิวจะกลับมาดังเดิม
แต่ถ้าให้ดีควรรักษาผิวเดิมของพระไว้ดีกว่า ถ้าอยากทำความสะอาดจริง ๆ สามารถล้างด้วยแชมพูอ่อน ๆ ผสมน้ำอุ่นก็พอแล้ว
วิธีที่ 8 ไม่ควรขัดพระด้วยน้ำยาขัดโลหะ น้ำยาสำหรับขัดโลหะ สามารถขัดพระประเภทเนื้อสำริดหรือทองผสม ทำให้สะอาดหมดจดจริง ๆ
แต่โลหะจะสึกมากกว่า การแช่ด้วยด้วยผงชูรส
การขัดพระ ล้างพระ ควรทำด้วยความระมัดระวัง การใช้กรดอย่างอ่อน เช่น มะนาว มะขาม ในพระเนื้อผง จะทำให้พระดูซีดขาว ขาดเสน่ห์
ขอบคุณข้อมูลจาก www.facebook.com/pages/khonrakpra/